เมื่อไหร่จึงควรเปลี่ยนเฟือง/ใบจาน?

นอกเหนือจากโซ่จักรยานแล้ว เฟืองหลังเเละใบจานเองก็เป็นชิ้นส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน วันนี้เรามีทริคเล็กน้อยในการสังเกตว่าถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนเฟืองและใบจานของเราหรือยัง โดยวิธีการจะไม่เหมือนโซ่ซึ่งมีเครื่องมือวัดโดยตรง เฟืองเเละใบจานจะใช้การสังเกตเเละจับความรู้สึกตอนเปลี่ยนเกียร์มากกว่า

1.เฟือง

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของฟันเฟืองเป็นสัญญาณว่าเฟืองของคุณนั้นเริ่มสึกหรอ ไม่ว่าเฟืองจะเริ่มคมขึ้นหรือบิ่น โดยทั่วไปแล้วเฟือง 1 ชุดจะมีอายุการใช้งานประมาณโซ่ 2 เส้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานรวมไปถึงการดูเเลรักษาของคุณด้วย แต่ถ้าหากคุณเปลี่ยนโซ่ใหม่แล้วพบว่าการเปลี่ยนเกียร์มีการกระโดด ไม่เรียบเนียน นั่นอาจจะพิจารณาได้ว่าเฟืองของคุณเริ่มหมดสภาพแล้ว ทั้งนี้การนำโซ่ใหม่ไปใช้กับเฟืองที่สึกหรอ จะทำให้โซ่ของคุณสึกหรอเร็วขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังเสียในเรื่องของการส่งกำลัง อย่างไรก็ตามการทำความสะอาดโซ่เเละเฟืองเป็นประจำ และหยอดน้ำมันหล่อลื่นจะช่วยให้เศษทรายหรือสิ่งสกปรกหลุดออก ทำให้ยืดอายุการใช้งานของเฟืองได้

2.ใบจาน

สำหรับอายุการใช้งานของใบจานนั้นจะมีอายุการใช้งานมากกว่าเฟืองและโซ่อย่างแน่นอน และมีวีธีสังเกตคล้าย ๆ กับเฟือง คือมีลักษณะของใบฟันที่เปลี่ยนไป ใบจานที่เสื่อมจะมีลักษณะฟันคม การเปลี่ยนเกียร์จะทำได้ยากเเละมีโอกาสทำให้โซ่ตก ทั้งนี้ความสึกหรอของโซ่และเฟืองจะสัมพันธ์กันหมด ถ้าเฟืองและโซ่สึกหรอ ก็จะส่งผลให้ใบจานสึกหรอรวดเร็วตามไป ดังนั้นเราควรหมั่นเช็คทั้ง 3 ชิ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยปกติแล้วใบจานเล็กจะมีความสึกหรอเร็วกว่าจานหน้าใบใหญ่

หากจักรยานของท่านมีปัญหานอกเหนือจากนี้ หรือต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
สามารถติดต่อได้ที่ตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านท่านตามลิงก์นี้ครับ : https://hahhong.com/dealer/

#rideshimano #imwithshimano Shimano-Road Shimano-MTB

เมื่อไหร่จึงควรเปลี่ยนเฟือง/ใบจาน?2020-06-10T11:48:16+07:00

การเลือกชุดขับเคลื่อน MTB ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ชุดขับเคลื่อน Shimano MTB 12 Speed มี option ให้เลือกใช้ทั้ง 2X12 หรือ 1X12 โดยข้อดีของ 2X12 คือระยะเกียร์ที่กว้างกว่ามีเกียร์ให้เลือกใช้มากกว่าจานชั้นเดียวถึงสองเท่า จึงเป็นตัวช่วยที่ดีมากสำหรับคนที่ชอบปั่นขึ้นเขาที่ชัน ทางไต่เขาที่มีระยะทางยาวนอกเหนือจากนั้นถ้าคุณเป็นคนที่ชอบเปลี่ยนเกียร์ขึ้นลงบ่อยๆเพื่อรักษารอบขา คุณจะชอบ 2X12 เเน่นอน เนื่องจากคุณมีโอกาสใช้เกียร์ที่ไม่หนักหรือเบาเกินไป ได้รอบขาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ รวมไปถึงขนาดของเฟืองที่เล็กลง ทำให้การเรียงของเกียร์นั้นมีความละเอียดกว่า

สำหรับ 1X12 จุดเด่นคือความเบา เนื่องจากใบจานใบเดียว ไม่มีสับจานเเละสายเคเบิล การเปลี่ยนเกียร์ง่ายดายไม่ต้องกังวลเรี่องโซ่ตก เเละค๊อกพิตที่สะอาดตา

CHOICE 1

ชุดขับเคลื่อน XT M8100 12 Speed เป็นชุดขับเคลื่อนที่เรียกได้ว่าเป็นตำนานของชุดขับ MTB ที่มีจุดเด่นด้านความทนทาน และมี Performance ที่ดีใกล้เคียงกับ XTR มากๆ ชุดขับ XT เป็นชุดขับที่ได้รับความนิยมมาก

ราคาชุดขับเคลื่อน XT 2×12 Speed

  • ชุดขับ ไม่รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 15,300 บาท
  • ชุดขับ รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 18,100 บาท
  • ชุดขับ รวมชุด Disc Brake 2 สูบและ ใบดิส ไม่รวมดุม 22,200 บาท

ราคาชุดขับเคลื่อน XT 1×12 Speed

  • ชุดขับ ไม่รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 13,400 บาท
  • ชุดขับ รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 16,200 บาท
  • ชุดขับ รวมชุด Disc Brake 2 สูบ และ ใบดิส ไม่รวมดุม 20,300 บาท
  • ชุดขับ รวมชุดเบรค (2 สูบ) เเละใบดิสต์ (160MM) รวมดุม ราคาเน็ต 23,000 บาท

CHOICE 2

ชุดขับเคลื่อน SLX M7100 12 Speed เป็นชุดขับ 12 Speed ตัวเริ่มต้นที่ได้รับเทคโนโลยีทั้งหมดที่มีอยู่ใน XTR และ XT ให้ชุดขับ SLX เป็นชุดขับตัวเริ่มต้นที่มี Performance และ ความทนทาน รวมถึงราคาที่คุ้มค่าที่สุด

ราคาชุดขับเคลื่อน SLX 2×12 Speed

  • ชุดขับ ไม่รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 9,700 บาท
  • ชุดขับ รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 12,300 บาท
  • ชุดขับ รวมชุด Disc Brake สองสูบ และ ใบดิส ไม่รวมดุม 15,900 บาท

ราคาชุดขับเคลื่อน SLX 1×12 Speed

  • ชุดขับ ไม่รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 8,600 บาท
  • ชุดขับ รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 11,100 บาท
  • ชุดขับ รวมชุด Disc Brake สองสูบ และ ใบดิส ไม่รวมดุม 14,600 บาท
  • ชุดขับ SLX M7100 1X12 รวมชุดเบรค (2 สูบ) เเละใบดิสต์ (160MM) รวมดุม ราคาเน็ต 17,200 บาท

CHOICE 3

ชุดขับเคลื่อน XTR M9100 12 Speed เป็นชุดขับเคลื่อนรุ่นท๊อปสุดที่เน้นน้ำหนักที่มีความเบาเป็นพิเศษ และ เหมาะกับการใช้งานแบบแข่งขันจริงจัง ชุดขับเคลื่อน XTR M9100 เป็นชุดขับที่เรียกได้ว่าเป็นชุดขับที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในชุดขับเคลื่อน MTB ตอนนี้ อีกทั้งยังรวมเทคโนโลยีที่ดีที่สุดไว้

ราคาชุดขับเคลื่อน XTR 2×12 Speed

  • ชุดขับ ไม่รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 38,700 บาท
  • ชุดขับ รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 50,450 บาท
  • ชุดขับ รวมชุด Disc Brake 4 Pot และ ใบดิส ไม่รวมดุม 54,500 บาท

ราคาชุดขับเคลื่อน XTR 1×12 Speed

  • ชุดขับ ไม่รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 32,400 บาท
  • ชุดขับ รวมดุม ไม่รวมชุด Disc Brake 44,150 บาท
  • ชุดขับ รวมชุด Disc Brake 4 Pot และ ใบดิส ไม่รวมดุม 48,200 บาท
การเลือกชุดขับเคลื่อน MTB ให้เหมาะสมกับการใช้งาน2020-06-10T11:48:21+07:00

การเช็คเบรกเบื้องต้นด้วยตัวเอง

เบรก เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องดูเเลเเละตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ วันนี้เรามีวิธีการเช็คเบรกเบื้องต้นง่าย ๆ 8 ขั้นตอนมาเเนะนำกัน หากไม่เคยเช็คเลยหรือไม่ได้เช็คมานานควรลองทำตามดูครับ เราเเนะนำให้นำจักรยานเข้าไปให้ร้านจักรยานที่ได้มาตรฐานตรวจเช็คเบรกเเละอะไหล่ย่อยต่าง ๆ เป็นระยะเพื่อความมั่นใจ ปลอดภัยเเละยืดอายุการใช้งานครับ

Step 1

ตรวจสอบการทำงานของมือเบรก โดยการบีบมือเบรกย้ำ ๆ ไปมาว่ามีการทำงานเป็นปกติหรือไม่ หากพบอาการเบรกจมให้ลองทำการบีบมือเบรกย้ำ ๆ หลายครั้ง ถ้าหากอาการเบรกจมยังไม่หายไป แนะนำให้นำรถจักรยานเข้าร้านจักรยานเพื่อทำการแก้ไขครับ

Step 2

ลองหมุนล้อเพื่อตรวจสอบหน้าสัมผัสของใบดิสและผ้าเบรกว่ามีการเสียดสีกันหรือไม่ หากพบใบดิสมีอาการเบี้ยวหรืองอ แนะนำให้ติดต่อร้านค้าเพื่อตรวจสอบและแก้ไขหรือเปลี่ยนใบดิสใหม่ครับ

Step 3

ทำการเลื่อนรถไปมา แล้วลองเบรกว่าระบบเบรกทำงานได้ตามปกติหรือไม่ หากมีอาการเบรกหอนให้ทำการตรวจสอบใบดิสและผ้าเบรกว่ามีสิ่งสกปรกหรือไม่

Step 4

ทำความสะอาดใบดิสโดยไม่จำเป็นต้องถอดล้อก็ได้ โดยใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลทั่วไปกับกระดาษทิชชู่ในการทำความสะอาดใบดิส

Step 5

คลายน๊อตยึดผ้าเบรก

Step 6

ดึงผ้าเบรกออกมา

Step 7

ทำการขัดผ้าเบรกด้วยกระดาษทรายบนพื้นผิวที่เรียบ แนะนำกระดาษทรายเบอร์ 300-400 ครับ

เปรียบเทียบผ้าเบรกที่ขัดแล้วและผ้าเบรกที่ยังไม่ขัด

Step 8

เช็คความหนาของผ้าเบรก ผิวผ้าเบรกควรมีความหนาอย่างน้อย 0.5mm หากผ้าเบรกเริ่มบางก็ควรเปลี่ยนทันทีเพื่อประสิทธิภาพในการเบรก

#rideshimano #makeyourmark #ShimanoGenuineParts Shimano-MTB

การเช็คเบรกเบื้องต้นด้วยตัวเอง2020-06-10T11:48:29+07:00

4 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับยางจักรยาน

1.อายุของยาง

โดยทั่วไปแล้วยางจักรยานที่มีคุณภาพจะมีอายุราว 3 ปีจากวันที่ผลิต หรือ การใช้งาน 1 ปี หรือ 3,000 กิโลเมตรโดยประมาณหลังจากเริ่มมีการใช้งาน ถ้าเกินจากระยะนั้นคุณภาพของยางจะลดลง นั่นหมายถึงความปลอดภัยในการใช้งานลดลงด้วย แต่ยางบางรุ่นเช่นรุ่น Endurance จะมีระยะเวลาการใช้งานที่มากกว่ารุ่นทั่วไป อย่างไรก็ตามยางทุกประเภทก็มีอายุราว 1 ปี เหมือนเดิม เพียงแต่ยางประเภทนี้ให้เราประหยัดได้มากกว่าหากมีการใช้งานที่มากกว่าการปั่นทั่วไป

2.ลมยางที่เหมาะสม

วิธีคิดคร่าวๆ เมื่อรู้แรงดันสูงสุดที่รับได้แล้ว ให้เติมลม 70-80% ของ maximum pressure ของยาง เช่น 125 psi ให้เติม 85-100 psi ทั้งนี้แรงดันที่เหมาะสมอาจขึ้นอยู่กับน้ำหนักรวมของผู้ใช้ด้วย เช่นถ้าน้ำหนักเยอะอาจต้องชดเชยด้วยการเติมลมเพิ่มมากกว่าปกติ หรือสลับกันในกรณีที่น้ำหนักน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องสภาพถนน และความต้องการความนุ่มนวลที่มากขึ้นในบางกรณี อย่างไรก็ตามไม่ควรเติมลมน้อยเกินไปจะทำให้ยางมีปัญหาได้

ข้อสังเกตุที่นักปั่นมักจะสับสนคือ ยางที่มีขนาดเล็ก (volumn น้อย) มักใช้แรงดันที่สูง แต่ยางขนาดใหญ่ (volumn มาก) นั้นจะใช้แรงดันน้อยตามหลักวิทยาศาสตร์ และข้อควรระวังคือยางในต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับยางนอก และรับแรงดันได้พอ ๆ กันด้วย

3.เรื่องของดอกยาง

ดอกยางแต่ละแบบนั้นถูกออกแบบมาให้มีการตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท ด้งนั้นดอกยางและหน้ากว้างของยางจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การขี่ของเรามีประสิทธิภาพสูงสุด

  • เสือภูเขา
    หากวิ่งบนทางเรียบเป็นหลักควรเลือกดอกยางที่เน้นทางเรียบ หากเน้นปั่นในแทร็คหรือทางวิบาก ก็ควรเลือกยางสำหรับทางวิบาก หากปั่นในทางโคลนหรือดินเหลวก็เลือกที่ระบุว่าใช้ในทาง MUD คุณจะสนุกกับการปั่นอย่างเต็มที่เมื่อเลือกยางที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบันยางบางรุ่นก็ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้กว้างขึ้น หรือเรียกว่ายาง ALL CONDITIONS ที่วิ่งได้ดีทั้งทางเรียบและทางวิบาก
  • เสือหมอบ
    ส่วนมากจะแบ่งออกเป็นยางซ้อมและยางเพื่อการแข่งขัน ยางเพื่อการซ้อมส่วนมากจะมีราคาถูกกว่าแต่สมรรถนะอาจไม่สูงเท่ายางแข่ง ปัญหาของยางซ้อมคืออาจปั่นได้ไม่ไหลลื่นเท่ากับยางแข่งเพราะน้ำหนักที่มากกว่า และการเกาะถนนในสภาพถนนเปียกจะไม่ดีเท่ากับยางแข่ง ยางแข่งจะมีน้ำหนักเบาและเกาะถนนได้ดีกว่า

4.การดูแลรักษายาง

  • ปล่อยลมยางออกบ้างหลังปั่น
    เพียงลดแรงดันลมยางลง จะช่วยลดความเครียดของผิวยางทั้งยางนอกและยางใน รวมถึงยืดอายุการใข้งานของวาวล์สูบลมของยางได้อีกด้วย หากคุณสังเกตุนักแข่งหรือนักปั่นที่มีประสบการณ์ พวกเขามักจะปล่อยลมยางออกไปก่อนเก็บจักรยาน และเติมลมใหม่ทุกครั้งก่อนออกปั่น
  • ทำความสะอาดยางอย่างเหมาะสม
    ทำความสะอาดยางบ้างหลังปั่น อย่างน้อยก็ควรปัดหรือลูบเอาสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกจากผิวหน้าของยาง เพราะสิ่งที่ติดอยู่บนผิวยางหรือในดอกยาง อาจก่อให้เกิดความเสียหายในการใช้งานได้ ยางที่ไร้สิ่งสกปรกอุดตันย่อมมีสมรรถนะที่สูงกว่าเพราะเนื้อยางคืนตัวได้อย่างสม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงในการเสียหาย หากมีเวลาสามารถใช้เพียงการเช็ดด้วยน้ำผสมสบู่หรือแชมพูอ่อน ๆ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการดูแลยางและจักรยาน นอกจากนี้การทำความสะอาดจักยานด้วยตัวเองยังช่วยให้คุณสำรวจความเสียหายของชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ก่อนที่มันจะใหญ่โตอีกด้วย
  • ไม่ควรเก็บยางเอาไว้นาน ๆ
    ข้อนี้อาจฟังดูขัดแย้งอยู่สักหน่อย ยางโดยทั่วไปผู้ผลิตแนะนำให้ใช้โดยที่มีสมรรถนะสุงสุดได้ในระยะเวลา 1 ปี เมื่อยางถูกสูบลมขึ้นรูปไปแล้ว ยางจะเสื่อมตัวลงอย่างช้า ๆ หากยางยังไม่ได้สูบลม สามารถวางเอาไว้บนชั้นวางที่มีอุณหภูมิเหมาะสมได้ 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้อน และการรับแสงของจุดที่วาง

4 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับยางจักรยาน2020-06-10T11:48:51+07:00

เมื่อไหร่ที่คุณควรจะเปลี่ยน CLEATS?

ทำไมจึงต้องเปลี่ยนคลีท(Cleats)เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม?

คลีทของเรานั้นทำหน้าที่หลายอย่าง ทั้งเป็นตัวล็อกกับบันไดและไว้ใช้เดิน โดยส่วนใหญ่คลีทจะมีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ย 3-6 เดือน แต่ควรจะเปลี่ยนบ่อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับสไตล์การใช้งาน สไตล์การปั่น และระยะเวลาในการปั่นของคุณ

เมื่อคลีทของคุณเริ่มเสื่อมสภาพลง จะส่งผลให้คลีทนั้นล็อกไม่แน่นหรือลื่น ส่วนใหญ่แล้วคลีทจะมีสีที่บ่งบอกว่าสึกหรอไปแค่ไหน เพื่อให้คุณสามารถสังเกตได้ว่าควรจะเปลี่ยนแล้วหรือยัง แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งถ้าหากสีที่คลีทยังคงอยู่ หากการใส่เข้าออกของเราทำได้ง่ายหรือยากเกินไป นั่นก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณควรที่จะเปลี่ยนใหม่แล้วเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยและ Performance ที่ดีขึ้น

จุดสังเกตของคลีท

สำหรับ SPD-SL Cleats ของ Shimano จะสังเกตได้ง่ายๆโดยการดูจากเส้นอ้างอิงทั้ง 2 จุด ถ้าหากสีที่คลีทด้านหลังสึกหรอไปถึงระดับที่ขีดไว้ หรือบริเวณด้านหน้าของคลีทมีการสึกหรอไปจนถึงขอบสีดำ นั่นแปลว่าคุณควรต้องเปลี่ยนใหม่ได้แล้ว

หากคุณเป็นคนที่ปั่นๆเดินๆ อุปกรณ์ชิ้นเล็กที่พกพาง่ายและน้ำหนักเบาอย่าง SM-SH45 Cleats cover ก็เป็นอีกสิ่งที่สามารถช่วยถนอมให้คลีทของคุณใช้งานได้นานขึ้นและช่วยให้เดินได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

บันไดเป็นอุปกรณ์ที่ทนทานเเละมีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน เเต่บันไดก็มีการสึกหรอได้ ส่วน Body ของบันไดนั้นสัมผัสกับคลีทอยู่ประจำจึงค่อยๆบางลงตามการใช้งาน และเมื่อบางจะทำให้การล็อกนั้นไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ ฉะนั้นควรเช็คสภาพทั้งคลีทเเละบันไดเป็นครั้งคราว

แล้วคลีทของ Shimano แต่ละสีต่างกันอย่างไร?

สำหรับ SPD-SL Cleats ทั้ง 3 สี จะมีความต่างกันที่องศาการขยับคือ
  • สีแดง จะขยับไม่ได้ คือ 0 องศา (SM-SH10)
  • สีฟ้า จะขยับได้ 2 องศา (SM-SH12)
  • สีเหลือง จะขยับได้ 6 องศา (SM-SH11)

การขยับในคลีทสีฟ้าและสีเหลืองจะแตกต่างกันที่ Pivot point โดยสีฟ้านั้น Pivot point หรือตำแหน่งหมุนจะอยู่ที่บริเวณด้านหน้า ทำให้ขยับได้เฉพาะข้อเท้า แต่สีเหลือง Pivot point จะอยู่ตรงกลางทำให้เท้าจะสามารถขยับได้ทั้งหน้าด้านและข้อเท้า

#rideshimano #imwithshimano Shimano-Road

เมื่อไหร่ที่คุณควรจะเปลี่ยน CLEATS?2020-06-10T11:49:58+07:00

9 อะไหล่ชิ้นเล็กที่ควรเช็คอย่างสม่ำเสมอ

ชุดขับของคุณประกอบด้วย จานหน้า, ใบจาน, ตีนผี, ลูกรอก, เฟือง(สเตอร์) เเละโซ่ ซึ่งเเต่ละชิ้นย่อมมีการเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน ทำให้คุณภาพการเปลี่ยนเกียร์ลดลง ดังนั้นจึงควรนำเจ้าสองล้อคู่ใจของคุณเข้าไปตรวจเช็คสภาพกับร้านจักรยานเป็นระยะ มาดูกันครับว่าเมื่อคุณไปที่ร้าน จักรยานของคุณจะถูกเช็คที่จุดไหนบ้าง

 

1. โซ่

โซ่เป็นอุปกรณ์ชิ้นเเรกที่จะสึกหรอ โดยปกติโซ่จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1,600 กม. ทั้งนี้อายุการใช้งานยังขึ้นอยู่กับรูปเเบบการปั่น สถานที่ปั่น เเละการใส่น้ำมันโซ่ เป็นเรื่องธรรมชาติที่ยิ่งใช้งานมากก็จะยิ่งมีการยืดเเละสึกหรอ ทำให้จุดสัมผัสกับจานหน้าเเละเฟืองหลังไม่เหมือนเก่า ข้อควรรู้คือโซ่ที่เริ่มสึกหรอจะทำให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่โซ่สัมผัสเสื่อมลงไปด้วย เช่น เฟืองหลัง ลูกรอกตีนผี ใบจานหน้า (ร้านจักรยานส่วนมากจะมีเครื่องมือเช็คว่าสภาพโซ่ของคุณเป็นอย่างไร)

 

2. ลูกรอกตีนผี (ลูกกลิ้งตีนผี)

ลูกรอกตีนผีจะทำจากพลาสติกเเข็งซึ่งช่วยให้ชุดขับทำงานนุ่มนวลเเละเงียบระหว่างเปลื่ยนเกียร์ พลาสติกนั้นอ่อนกว่าเหล็ก เมื่อต้องเจอกับโซ่ที่สึกหรอจะทำให้ฟันของลูกรอกเปลื่ยนจากรูปทรงเหลี่ยมเป็นซี่คม ๆ ดังนั้นถ้าฟันของลูกรอกคมเเสดงว่าอยู่ในสถาพที่ไม่ดีเเล้ว

 

3. เฟืองหลัง (สเตอร์)

อาการของเฟืองหลังที่สึกหรอคือเมื่อเปลี่ยนเกียร์เเล้วไม่ดีเหมือนเคย มีการวืดหรือข้ามเกียร์เกิดขึ้น การสึกหรอของเฟืองหลงนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน ชั้นเฟืองที่ถูกใช้บ่อยก็จะสึกก่อนชั้นอื่น

 

4. ใบจาน

คล้ายกับเฟืองหลัง ใบจานหน้าก็เสื่อมสภาพตามการใช้งาน ใบที่เราใช้บ่อยก็จะสึกก่อน เเต่เราสามารถเปลื่ยนอะไหล่ใบจาน Shimano ทีละใบได้ ใบจานที่เสื่อมจะมีลักษณะฟันคม การเปลื่ยนเกียร์จะทำได้ยากเเละมีโอกาสทำให้โซ่ตก

 

5. สายเกียร์ สายเบรก

เรามักจะลืมนึกถึงสายเกียร์-สายเบรกบนจักรยานของเรา เเต่มันกลับเป็นชิ้นส่วนที่ส่งผลต่อการทำงานของจักรยานเป็นอย่างมาก สายเกียร์มีหน้าที่รับคำสั่งจากมือเกียร์ไปที่ตีนผี การที่สายเกียร์สกปรกหรือเสื่อมสภาพมีผลต่อการเปลื่ยนเกียร์โดยตรง โดยเฉลี่ยเราเเนะนำให้เปลี่ยนสายเกียร์เเละเบรกปีละครั้ง เเต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของคุณด้วย

 

6. ผ้าเบรก

เพราะความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราจึงควรเช็คผ้าเบรกอย่างสม่ำเสมอว่าสกปรกหรือยางเบรกเริ่มหมดอายุหรือยัง คุณอาจจะใช้น้อย ยางเบรกยังเหลือเยอะ แต่ด้วยธรรมชาติของยางเมื่อเวลาผ่านไปย่อมเสื่อมสภาพลง ถ้าผ้าเบรกเริ่มบางจะจับล้อได้ไม่ดี และร่องของยางเบรกก็จะไม่รีดน้ำ นอกจากนี้ยังทำให้ผ้าเบรกและขอบล้อร้อนเร็วขึ้นอีกด้วย ดังนั้นผ้าเบรกจึงเป็นจุดสำคัญที่เราควรเช็คทุกครั้งก่อนไปทริปใหญ่ ๆ เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง

 

7. ฮู้ด (ยางหุ้มมือเกียร์)

อะไหล่ส่วนหนึ่งที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเกียร์ แต่เป็นชิ้นส่วนที่ทำให้การควบคุมดีขึ้น เนื่องจากฮู้ดนั้นเป็นยาง เมื่อใช้ไปนาน ๆ แม้จะไม่ขาด แต่เมื่อต้องโดนเหงื่อและเสื่อมสภาพตามอายุจะทำให้วัสดุของยางนั้นลื่นและจับได้ไม่กระชับ หากลองจับฮู้ดของใหม่กับฮู้ดที่ใช้มานานแล้ว คุณจะสามารถรู้สึกถึงความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

 

8. คลีท

คลีทรองเท้าก็เป็นอะไหล่ชิ้นหนึ่งที่ควรพลิกดูอย่างสม่ำเสมอว่ามุมต่างๆของคลีทมีความสึกหรอหรือไม่ เพราะคลีทก็เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องความปลอดภัย หากใช้คลีทที่สึกก็มีความเสี่ยงที่คลีทจะหลุดออกจากบันไดได้ ถ้าคุณเป็นคนที่เดินเยอะ ควรหาที่ครอบคลีทมาใส่เพื่อถนอมคลีทให้ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

 

9. กะโหลก

กะโหลกจักรยานเป็นสิ่งหนึ่งที่ใครหลายคนอาจจะไม่ได้ทำความสะอาดเพราะต้องถอดจาน แต่ก็เป็นอะไหล่ชิ้นหนึ่งที่ต้องเช็คบ้าง เพราะกะโหลกเป็นอะไหล่ที่เรามองไม่เห็น อาจมีขี้ดิน ทรายติดอยู่ภายใน หรือจารบีที่อยู่ในกะโหลกกลายเป็นสีดำไปแล้ว นั่นแปลว่าทุกครั้งที่เราควงขาปั่นเราจะพาความฝืดจาก ดิน ทราย หรือสิ่งสกปรกที่อยู่ในกะโหลกไปด้วย หากเราถอดกะโหลกออกมาทำความสะอาด และ service บ้าง รับรองว่าการควงขาของเราจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

9 อะไหล่ชิ้นเล็กที่ควรเช็คอย่างสม่ำเสมอ2020-06-10T11:50:55+07:00

Title

Go to Top