
1.อายุของยาง
โดยทั่วไปแล้วยางจักรยานที่

2.ลมยางที่เหมาะสม
วิธีคิดคร่าวๆ เมื่อรู้แรงดันสูงสุดที่รับได้แล้ว ให้เติมลม 70-80% ของ maximum pressure ของยาง เช่น 125 psi ให้เติม 85-100 psi ทั้งนี้แรงดันที่เหมาะสมอาจขึ้นอยู่กับน้ำหนักรวมของผู้ใช้ด้วย เช่นถ้าน้ำหนักเยอะอาจต้องชดเชยด้วยการเติมลมเพิ่มมากกว่าปกติ หรือสลับกันในกรณีที่น้ำหนักน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องสภาพถนน และความต้องการความนุ่มนวลที่มากขึ้นในบางกรณี อย่างไรก็ตามไม่ควรเติมลมน้อยเกินไปจะทำให้ยางมีปัญหาได้
ข้อสังเกตุที่นักปั่นมักจะสับสนคือ ยางที่มีขนาดเล็ก (volumn น้อย) มักใช้แรงดันที่สูง แต่ยางขนาดใหญ่ (volumn มาก) นั้นจะใช้แรงดันน้อยตามหลักวิทยาศาสตร์ และข้อควรระวังคือยางในต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับยางนอก และรับแรงดันได้พอ ๆ กันด้วย

3.เรื่องของดอกยาง
ดอกยางแต่ละแบบนั้นถูกออกแบบมาให้มีการตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท ด้งนั้นดอกยางและหน้ากว้างของยางจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การขี่ของเรามีประสิทธิภาพสูงสุด
- เสือภูเขา
หากวิ่งบนทางเรียบเป็นหลักควรเลือกดอกยางที่เน้นทางเรียบ หากเน้นปั่นในแทร็คหรือทางวิบาก ก็ควรเลือกยางสำหรับทางวิบาก หากปั่นในทางโคลนหรือดินเหลวก็เลือกที่ระบุว่าใช้ในทาง MUD คุณจะสนุกกับการปั่นอย่างเต็มที่เมื่อเลือกยางที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบันยางบางรุ่นก็ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้กว้างขึ้น หรือเรียกว่ายาง ALL CONDITIONS ที่วิ่งได้ดีทั้งทางเรียบและทางวิบาก - เสือหมอบ
ส่วนมากจะแบ่งออกเป็นยางซ้อมและยางเพื่อการแข่งขัน ยางเพื่อการซ้อมส่วนมากจะมีราคาถูกกว่าแต่สมรรถนะอาจไม่สูงเท่ายางแข่ง ปัญหาของยางซ้อมคืออาจปั่นได้ไม่ไหลลื่นเท่ากับยางแข่งเพราะน้ำหนักที่มากกว่า และการเกาะถนนในสภาพถนนเปียกจะไม่ดีเท่ากับยางแข่ง ยางแข่งจะมีน้ำหนักเบาและเกาะถนนได้ดีกว่า

4.การดูแลรักษายาง
- ปล่อยลมยางออกบ้างหลังปั่น
เพียงลดแรงดันลมยางลง จะช่วยลดความเครียดของผิวยางทั้งยางนอกและยางใน รวมถึงยืดอายุการใข้งานของวาวล์สูบลมของยางได้อีกด้วย หากคุณสังเกตุนักแข่งหรือนักปั่นที่มีประสบการณ์ พวกเขามักจะปล่อยลมยางออกไปก่อนเก็บจักรยาน และเติมลมใหม่ทุกครั้งก่อนออกปั่น - ทำความสะอาดยางอย่างเหมาะสม
ทำความสะอาดยางบ้างหลังปั่น อย่างน้อยก็ควรปัดหรือลูบเอาสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกจากผิวหน้าของยาง เพราะสิ่งที่ติดอยู่บนผิวยางหรือในดอกยาง อาจก่อให้เกิดความเสียหายในการใช้งานได้ ยางที่ไร้สิ่งสกปรกอุดตันย่อมมีสมรรถนะที่สูงกว่าเพราะเนื้อยางคืนตัวได้อย่างสม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงในการเสียหาย หากมีเวลาสามารถใช้เพียงการเช็ดด้วยน้ำผสมสบู่หรือแชมพูอ่อน ๆ ก็เพียงพอแล้วสำหรับการดูแลยางและจักรยาน นอกจากนี้การทำความสะอาดจักยานด้วยตัวเองยังช่วยให้คุณสำรวจความเสียหายของชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ก่อนที่มันจะใหญ่โตอีกด้วย - ไม่ควรเก็บยางเอาไว้นาน ๆ
ข้อนี้อาจฟังดูขัดแย้งอยู่สักหน่อย ยางโดยทั่วไปผู้ผลิตแนะนำให้ใช้โดยที่มีสมรรถนะสุงสุดได้ในระยะเวลา 1 ปี เมื่อยางถูกสูบลมขึ้นรูปไปแล้ว ยางจะเสื่อมตัวลงอย่างช้า ๆ หากยางยังไม่ได้สูบลม สามารถวางเอาไว้บนชั้นวางที่มีอุณหภูมิเหมาะสมได้ 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้อน และการรับแสงของจุดที่วาง